ไม่อยากให้ไก่ป่วยตาย!…ต้องอ่าน

ช่วงนี้หน้าฝน…มีหลายท่านประสบปัญหาไก่ป่วยบ่อยเหลือเกิน! ป่วยเรื้อรังและไม่ทราบสาเหตุ แถมมีอาการตายกระทันหันอีกด้วย ทำให้คนเลี้ยงเกิดความท้อแท้! วันนี้แอดมินเลยขอมาแนะนำวิธีการดูแลไก่ไข่เบื้องต้น เพื่อให้เล้าไก่ของท่านปลอดโรค มาดูกันเลยค่ะ…

ไม่อยากให้ไก่ป่วยตาย!...ต้องอ่าน

 

วันนี้ แอดมิน จะมาแนะนำวิธีการดูแลไก่ไข่เบื้องต้น เพื่อให้เล้าไก่มีสุขลักษณะที่ดี ปลอดโรค และเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกท่านที่เกิดเหตุการณ์ไก่ตายบ่อย ๆ ให้มีแรงใจสู่กันต่อ ๆ ไปนะคะ ด้วย 12 วิธี ดูแลไก่ไข่เบื้องต้น มีดังนี้ค่ะ

1. ดูแลเรื่องความสะอาดภายในเล้าไก่ ล้างภาชนะใส่น้ำ อาหาร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดต่าง ๆ ถ้าเป็นฟาร์มใหญ่ๆ ควรมีถาดสำหรับเหยียบน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือบ่อจุ่มเท้าก่อนเข้าเล้าไก่ทุกครั้งค่ะ

2. พ่นยาฆ่าเชื้อในเล้าไก่ บนตัวไก่ และบริเวณที่ไก่อยู่อาศัย ด้วยน้ำยายูซีเซฟ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่มากับอากาศ คนเลี้ยง และละอองฝน หากอยู่ในระยะเวลาช่วงโรคระบาดควรพ่นยาฆ่าเชื้อทุกวันจนกว่าโรคจะหมดไปค่ะ

3. ปิดเล้าให้มิดชิดช่วงกลางคืน และในช่วงฝนตกลมแรง อย่าให้ฝนสาด ลมโกรก หรือพื้นเปียก ป้องกันไก่ป่วยจากละอองฝน ลม ที่พัดพาฝุ่นและเชื้อโรคที่ไหลมาตามน้ำ เข้าไปในเล้าไก่โดยเด็ดขาด

4. อากาศก็สำคัญ ถ้าตอนกลางวันร้อนจัด ตอนกลางคืนฝนตก ให้ละลายยาเบต้ามัยซินให้กินทั้งเล้าให้กินต่อเนื่อง 3-5 วันเลยค่ะ เพื่อป้องกันโรคหวัด จากการปรับสภาพร่างกายไม่ทัน

5. ห้ามไก่ป่วยคลุกคลีกับไก่ดี ถ้าหากเจอไก่ป่วย ให้รีบแยกออกจากฝูงทันทีและให้ยาทันที ถ้าไก่กินยาไม่ได้ ให้ป้อนยาไก่ ต่อเนื่อง 5 วัน ป้อนวิตามินละลายน้ำไวต้าเวท มัลติลิมอี หรือฟาร์ม่าวิทให้ไก่วันละ 2-3 รอบ ไก่จะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

6. คนเลี้ยงควรล้างมือให้สะอาด ก่อนนำอาหารไปให้ไก่ ห้ามให้คนที่เป็นหวัดหรือป่วยเข้าไปในเล้าไก่เด็ดขาด เพื่อลดการติดเชื้อหรือหายใจรดไก่ หากเลี้ยงไก่เพียงคนเดียว ให้ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง และใช้ผ้าปิดปาก ก่อนนำอาหารให้ไก่ค่ะ

7. ควรเสริมภูมิคุ้มกันให้ไก่ โดยให้วิตามินละลายน้ำไก่ทุก ๆ วัน งดผักเน่า หรืออาหารที่ใช้ยาฆ่าแมลง หรืออาหารที่ค้างคืน อาจจะมีเชื้อราจะทำให้ไก่ท้องเสีย หรือป่วยได้ง่ายมากค่ะ

8. หากเลี้ยงไก่แบบปล่อย ให้เก็บถุงพลาสติก หนังยาง ลวด และเก็บซากสัตว์ ผักที่เน่าเสีย แมลงที่เน่าตาย สัตว์หรือผักเน่าจะเป็นตัวแพร่โรค เรียกว่า โบทูลิซึม ไก่จะตายทันที ภาย

ใน 48 ชั่วโมง หากได้กินซากเน่านั้น ๆ

9. ไม่ปล่อยไก่ออกจากเล้าไก่ช่วงที่ฝนตกใหม่ ๆ หรือหยุดตกแล้ว เนื่องจากฝนจะนำพาเชื้อโรคมาตามละอองน้ำที่ไหลมาจากที่อื่น ไก่ตากฝนอาจทำให้เป็นโรคอหิวาต์ ท้องเสีย หรือ

เป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ควรปล่อยไก่ช่วงที่ดินแห้งแล้วเท่านั้น

10. งดให้อาหารหรือใช้ภาชนะที่หมักดอง ที่อาจจะมีเชื้อรา เช่น หญ้าแห้ง ข้าวโพดชื้น อาหารค้างคืน น้ำสกปรก น้ำค้าง เชื้อราจากถังอาหารที่ไม่ได้ล้าง ก็ทำให้ไก่กินเชื้อราเข้าไปได้ เนื่องจากการกินเชื้อราแอสเปอร์จิรัสซิส เข้าไปนั้น ไก่ป่วยจะมีอาการคล้าย ๆ หลอดลมอักเสบ ไอหายใจดัง เบื่ออาหาร การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ทำให้ไก่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังไปกดภูมิคุ้มกันไก่ให้แย่ลงอีกด้วยค่ะ

11. งดอาหารที่แข็งจนเกินไป เช่น ข้าวเปลือก เมล็ดข้าวโพด หรืออื่น ๆ การให้อาหารแข็งกับไก่ไข่ อาจจะทำให้ลำไส้ไก่หรือกระเพาะย่อยเกิดเป็นแผลได้ ควรคลุกอาหารกับเศษหินเศษกรวด เพื่อเป็นตัวช่วยบดอาหารใน กระเพาะบดของแม่ไก่ เพื่อลดปัญหา ลำไส้อักเสบ..

12. หากพื้นที่รองด้วยแกลบ ขี้เลื่อยเกิดความชื้นจนเกินไป ควรพ่นด้วยอีเอ็ม ก่อนเทสิ่งรองพื้นทับ เพื่อลดกลิ่นเหม็น อย่าปล่อยให้พื้นเกิดการหมักหมมหรือมีกลิ่นแอมโมเนียเด็ดขาด เพื่อลดการเกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ หรือพวกหวัดหน้าบวม..

หมายเหตุ : ถ้าวันไหนอากาศร้อนมากๆ ให้เราเสริมมื้อเที่ยงให้ไก่ด้วยต้นกล้วยสับ แตงกวาสับ แตงไทย แตงโม หรือให้นำน้ำสะอาดผสมกับอาหารสำเร็จรูป เพื่อให้อาหารเกิดความชื้น ไก่จะกินอาหารในช่วงหน้าร้อนได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
————————————
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ได้ที่นี่ https://ฟาร์มไก่ไข่พัชรี.com
สนใจสอบถาม/สั่งซื้อไก่ไข่สาว ได้ที่นี่ค่ะ
www.facebook.com/ThaiEggs
ฟาร์มไก่ไข่พัชรี มุกดาหาร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *